Thursday, November 3, 2011

โครงสร้างเนื้อหาของ Joomla!

ในการทำเว็บไซต์ ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือเนื้อหาค่ะ เรามาทำความรูจักกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของ Joomla! กันก่อน
  1. Section คือ หมวดหมู่หลักของเนื้อหา ซึ่งมี Category เป็นหมวดหมู่ย่อย
  2. Category คือ หมวดหมู่ย่อย ที่เก็บรวบรวม Article ในหมวดเดียวกันไว้ด้วยกัน
  3. Article คือ เนื้อหา ข่าว หรือบทความของเว็บไซต์
  4. Menu คือ เมนูสำหรับลิงค์ไปยังเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์
.
ตัวอย่าง เว็บไซต์ enjoychinese.net  มีหมวดหมู่หลัก และหมวดหมู่ย่อย ดังนี้
หมวดหมู่หลัก (Section)
  • เรียนจีน   มีหมวดหมู่ย่อย (Category) :
    ไวยกรณ์จีน, คำศัพท์, บทสนทนา, สำนวนจีน, เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษาจีน
  • บันเทิงจีน  มีหมวดหมู่ย่อย (Category) :
    ประวัติดารานักร้อง, ข่าวแวดวงบันเทิง, แนะนำซีรีย์
  • เพลงจีน
  • พาเที่ยวจีน
  • ประเทศจีน
  • จิปาถะ
 การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ใน Joomla!  จะทำในเมนู Content

  • หมวดหมู่หลัก ให้จัดการในส่วนของ Section Manager
  • หมวดหมู่ย่อย ให้จัดการในส่วนของ Category Manager
  • บทความหรือเนื้อหาทั้งหมด ให้จัดการในส่วนของ Article Manager
  • บทความหรือเนื้อหาที่แสดงในหน้าแรก ให้จัดการในส่วนของ Front Page Manager
.
การจัดการเนื้อหาหรือบทความต่างๆ ใน Joomla! จะทำผ่านเมนู Content > Article Manager

ในหน้านี้จะแสดงบทความหรือเนื้อหาทั้งหมด มาดูแต่ละคอลัมน์กันค่ะ
- Publish แสดงสถานะของบทความว่าได้แสดงในเว็บไซต์หรือไม่ ถ้าเป็นเครื่องหมายถูก คือ ถูกแสดงในเว็บไซต์ แต่ถ้าเป็นเครื่องหมายกากบาท คือ ไม่ได้แสดงในเว็บไซต์ อาจเป็นบทความที่ยังเขียนไม่เสร็จ
- Front Page ถ้าเป็นเครื่องหมายถูก คือ บทความนั้นถูกแสดงในหน้าแรก (homepage)
- Order การจัดเรียงลำดับของบทความ
- Access Level คือ สิทธิ์การเข้าถึงบทความ ถ้าเป็น Plublic คือ เข้าถึงได้ทุกคน
- Section คือ หมวดหมู่หลัก
- Category คือ หมวดหมู่ย่อย
- Author คือ ผู้สร้างบทความ
- Date คือ วันที่สร้างบทความ
- Hits คือ จำนวนครั้งที่เปิดอ่าน
- ID คือ หมายเลขอ้างอิงบทความในฐานข้อมูล
ถ้าต้องการเรียงลำดับข้อมูลตามคอลัมน์ไหน ให้คลิกที่ชื่อคอลัมน์นั้น และถ้าต้องการกรองข้อมูลตาม Section หรือ Category หรือ ผู้สร้างบทความ หรือ สถานะของบทความ ให้เลือกใน list box ที่อยู่ด้านบนชื่อคอลัมน์
.
ในการที่เราจะเข้าถึงเนื้อหาในหมวดหมู่ต่างๆ ได้นั้นจะต้องคลิกผ่านเมนู  หลังจากที่ได้กำหนดหมวดหมู่ของเนื้อหาแล้ว เราจะต้องสร้างเมนูเพื่อเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาในหมวดหมู่ต่างๆ ด้วย
 การสร้างเมนูเพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาใน Joomla!  จะทำในเมนู Menu


หลังจากที่เราเข้าใจ concept โครงสร้างเนื้อหาของ Joomla! แล้ว บทความหน้าเราจะเคลียร์เนื้อหาตัวอย่างทิ้ง และสร้างใหม่กัน

No comments:

Post a Comment